top of page

Extended techniques

หลังจากงานประพันธ์หลักๆในปี1965นักประพันธ์ใหม่ๆเริ่มที่จะเขียนเทคนิคใหม่ๆให้กับเครื่องTubaเพื่อทดสอบข้อจำกัดของตัวเครื่องเองว่าสามารถทำได้แค่ไหน ในปี1955 มีบทเพลงที่ชื่อว่า Mirum ประพันธ์โดย Mauricio Kage และนี่เป็นเพลง unaccompanied เพลงแรกของ Tuba ที่ประกอบไปด้วย Extended Techniques นั่นเอง

Multiphonic Techniques

276013798_4902415329875759_6918965821841096391_n.jpg
278972092_671718994057234_1555916861007216215_n.jpg

Multiphonic  นั้นเปรียบเสมือนการ Double ของเครื่องทองเหลืองแต่ไม่เหมือนกับเครื่องสายหรือเครื่อง String คนเล่นเครื่องBrass  นั้นจะสามารถสร้างเสียงที่แตกต่างกันได้แค่ 2 เสียงเท่านั้น *ยังไม่รับรวมกับเทคนิคอื่นๆ* คือ 1. สร้างด้วยการสั่นสะเทือนของริงฝีปากหรือ Buzzing และเป็นเทคนิคพื้นฐานในการสร้างเสียงของเครื่อง Brass อยู่แล้ว 2. สร้างเสียงด้วย Vocal chord หรือการเปร่งเสียงหรือร้องเสียงออกมา Techniques นี้นั้นเป็นพื้นฐานของนักร้องอยู่แล้ว โดยนำ 2 Techniques ข้างตนมารวมกันจะเกิดเสียงที่ชื่อว่า Over tone เกิดขึ้นและ Multiphonic เป็น Extended Techniques ที่สามารถเจอได้ทั่วไปในเพลงยยุคปัจจุบัน 
ยกตัวอย่าง มาจาก Encounter II : W. Kraft 








ตัวอย่างจาก Con Voce : Gerard Buquet







ในเชิงของการสอน Techniques นี้นั้นเป็นเรื่องยากที่จะอธิบายในเรื่องของหลักวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์แต่ถ้าจะให้เข้าใจง่ายที่สุดก็คือการนำทั้ง 2 สิ่งก็คือเสียงจากร้องและเสียงจากเครื่องเข้ามารวมกันโดยเทคนิคนั้นมีมากมายแต่สิ่งที่เราควรจจะโฟกัสมากที่สุดก็คือ Character ของเสียงว่าเราต้องการแบบไหนการนึกเสียงให้เป็น Character เป็นสิ่งที่เข้าใจง่ายที่สุดถ้าต้องการเสียงที่เล็กเราก็ทำเสียงตัวเองให้เล็กโดยการควบคุมลำคอหรือเส้นเสียงให้มีความบีบเล็กน้อยเหมือนเวลาเราพูด ถ้าเราอยากได้เสียงร้องที่ใหญ่เราก็ทำเสียงตัวเองให้ใหญ่โดยการดัดเสียงตัวเองการคำนึงถึง Character ทำให้เราเห็นภาพสิ่งที่ตัวเองจะสื่อออกมาทำให้การพัฒนารูปแบบเสียงของเรามีมากขึ้นภาพการจินตนาการสำคัญเท่ากับเสียงเพราะดนตรีสมัยใหม่นั้นเราต้อง React กับสิ่งรองข้างให้ได้มากที่สุดเพื่อดึงอารมณ์ออกมาให้ได้มากที่สุดนั่นเอง

Singing and Speaking into the horn

หรือก็คือการร้องเข้าไปในเครื่องนั่นเองโดย Techniques นี้นั่นเป็นสิ่งที่ง่ายในการทำเพราะเราไม่ต้องเป่าแค่ร้องเข้าไปในเครื่องเฉยๆให้เสียงของเราผ่านตัวขยายก็คือเครื่องของเรานั่นเองออกไปสู่ภายนอกแต่ว่าก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเช่นเดียวกันเพราะว่าปากของเรานั้นจะไม่สามารถขยับได้โดยอิสระเพราะว่าเราต้องพูดออกไปในขณะที่ปากเรานั้นอยู่กับเมาส์ทำให้มีพื้นที่ไม่พอในการสร้างสรรค์คำหลายๆคำออกมาโดยความเป็นไปได้มากที่สุดในการร้องออกมานั้นก็คือร้องออกมาเป็นสระหรือก็คือ A E I O U นั่นเองการที่เราร้องออกมาด้วยสระเหล่านี้นับว่าเป็นตัวเลือกที่ดีเพราะเสียงสระเหล่านี้นั้นใช้พื้นที่ในการขยับปากน้อยจึงสามารถส่งเสียงผ่านตัวขยายออกไปได้อย่างชัดเจนมากที่สุดสิ่งที่น่าสนใจของ Techniques นี้นั้นก็คือการผสมเสียงให้เป็นคำคือไม่ใช่แค่สละอีกต่อไปแต่เป็นการสละต่างให้กลายเป็นคำ
ยกตัวอย่างมาจาก  Dos A Dos : Vinko globokar

278996692_403244418001444_1004789444106469240_n.jpg

Flutter Tongue

Flutter Tongue นั้นคือการรัวลิ้นหรือการกระดกลิ้นในรูปแบบ (ร ) หรือตัว R ในภาษาอังกฤษนั่นเอง Techniques นี้นั้นค่อนข้างที่จะทำได้ยากและอึดอัดเพราะมีหลายกรณีที่หลายบุคคลไม่สามารถกระดกลิ้นได้นั้นก็มีเพราะร่างกายแต่ละบุคคลไม่เหมือนกันมีข้อจำกัดที่แตกต่างกันนั่นเองโดย Techniques นี้นั้นเราสามารถควบคุมลักณะเสียงได้เช่นเดียวกันคือความชัดและความถี่ถ้าอยากได้ถี่ๆชัดๆเราอาจจะต้องใช้ลมที่เร็วและมากขึ้นเพื่อให้ลมเป็นตัวหล่อเลี้ยงให้ลิ้นเรารัวและเร็วมากขึ้นแต่ถ้าเราอยากได้แบบบางๆเราก็ทำได้โดยไม่ต้องกระดกลิ้นให้แรงเกินไปโดยใช้ลมเลี้ยงไปข้างหน้าอยู่ตลอดTips: Flutter tongue นั้นมีข้อดีอยู่ในเรื่องของการผนวกกับแบบฝึกหัดอื่นๆนั่นก็คือ การใช้Fluter tongue เป็นตัวช่วยเช็คลมว่าลมของเราในการเป่าเนี่ยต่อเนื่องขนาดไหนเพราะการเป่า Flutter tongue เนี่ยต้องใช้ลมมากกว่าการเป่าแบบธรรมดาหลายเท่าเนื่องด้วยเราต้องคอยใช้ลมที่มีปริมาณเพียงพอให้ลิ้นเรากระดกและยังต้องรักษาTone ให้มีความต่อเนื่องอีกด้วย
ยกตัวอย่างมาจาก Apocalyptic Voices : James N. Meador

278968347_677000516859769_4572354346783611556_n.jpg

Extream Range 

ในช่วงหลังๆนั้นระดับเสียงของ Tuba เริ่มมีการใช้เสียงที่สูงมากๆและต่ำมากๆขึ้นเรื่อยๆเพราะด้วยตัวเครื่องที่พัฒนาให้สามารถคงเสียงไว้อย่างมีคุณภาพมากขึ้นแล้วและเครื่องก็มีขนาดที่ให้เลือกมากขึ้นเช่นกันเช่น 3/4, 4/4, 5/4, 6/4 เป็นต้นจึงมีการเลือกใช้ Range ที่มากขึ้นเพื่อเป็นการท้าทายตัวผู้เล่นด้วยนั่นเอง 

การเป่าเสียงสูงหรือต่ำนั้นจุดสำคัญที่สุดเลยก็คือ Tone Quality นั่นเองหรือก็คือคุณภาพของเสียงโดยการซ้อมเสียงที่สูงมากๆนั้นอาจไม่ใช่สิ่งที่ดีนักถ้าหากเราไม่รู้ว่าเสียงที่ดีเป็นอย่างไรและยิ่งถ้าหากเราใช้ร่างกายไปในทางที่ผิดด้วยจะเป็นอันตรายอย่างมากในอนาคตเช่นเดียวกันการเป่าเสียงที่สูงมากๆหรือต่ำมากๆนั้นเราจำเป็นต้องใช้ชั่วโมงบินที่สูงพอสมควรในการที่เราจะได้ในสิ่งนั้นมาแต่ในเรื่องของการฝึกซ้อมนั้นสิ่งที่สามารถช่วยเราได้มากที่สุดเลยก็คือการซ้อมบรรไดเสียงหรือก็คือ Scale นั่นเองเพราะว่าการซ้อมแบบนี้นั้นจะเป็นการที่เราไล่ระดับเสียงขึ้นไปแบบ step by step ไม่ข้ามขั้นตอน

ยกตัวอย่างมาจาก Apocalyptic Voices : James N. Meador











 

280662455_380683517323913_4715068526221128523_n.jpg

Wind Sounds

wind sound คือการสร้างเสียงมาจากลมที่ผ่านเข้าสู่ทูบาและได้กระทบกับท่อในแต่จุดทำให้มีเสียงอากาศออกมาผ่านตัวขยายที่เป็นTuba ยิ่งความสั้นยาวของท่อไม่เท่ากันเสียงที่ออกมาก็มีความแตกต่างเช่นเดียวกัน
เราสามารถใช้ความเร็วของลมที่แตกต่างกันเพื่อสร้าง Character ที่แตกต่างกันออกมาได้

 

bottom of page