top of page

Anxiety Disorders (โรควิตกกังวล)

คือ โรคทางจิตใจที่มีความรุนแรงกว่าความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรควิตกกังวลจะพบว่ามีความวิตกกังวลและโรควิตกกังวลทำให้เกิดอุปสรรคในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การทำงาน การเรียนหนังสือ และการรักษาความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมก็สามารถจัดการกับอาการและกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อาการอื่น ๆ ต่อเนื่องและอาการไม่หายไป หรืออาจมีอาการที่แย่ลงได้ในที่สุดโรควิตกกังวลที่สําคัญสามอย่างคือ:

  • Generalized anxiety disorder  โรควิตกกังวลทั่วไป (GAD)

  • Panic disorderโรคตื่นตระหนก

  • Social anxiety disorder​โรควิตกกังวลทางสังคม (SAD)

 

อาการของโรควิตกกังวล

อาการของโรควิตกกังวลขึ้นอยู่กับประเภทของโรควิตกกังวล โดยอาการทางกายและใจที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป ได้แก่

  • มีอาการตื่นตระหนก กลัว และไม่สบายใจ

  • ไม่สามารถอยู่ในความสงบได้ กระสับกระส่าย กระวนกระวาย หงุดหงิด ไม่มีสมาธิ

  • มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ

  • มือและเท้าเย็น หรือเหงื่อแตก

  • หายใจตื้น

  • ใจสั่น

  • เจ็บหน้าอก

  • ปากแห้ง

  • มีอาการเหน็บชาที่มือและเท้า

  • มีอาการคลื่นไส้

  • เวียนศีรษะ

  • ปวดศีรษะ

  • กล้ามเนื้อตึงเกร็ง

  • มีความอ่อนล้า เหนื่อยง่าย

  • มีอาการสั่น

นอกจากนั้น ในแต่ละประเภทยังมีอาการเฉพาะ ดังต่อไปนี้

  • อาการของโรคแพนิค (Panic Disorder) เช่น เหงื่อออก เจ็บหน้าอก ใจสั่น รู้สึกสำลัก มีความรู้สึกเหมือนตนเองเป็นโรคหัวใจหรือเหมือนจะเป็นบ้า

  • อาการของโรคกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder: GAD) เช่น มีความเครียดหรือมีความกังวลมากเกินไปจากความเป็นจริง ถึงแม้ว่าจะมีสาเหตุเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีสาเหตุที่ไปกระตุ้นให้เกิดอาการกังวลได้

  • อาการของโรคกลัวการเข้าสังคม (Social Anxiety Disorder) เช่น มีความกังวลที่รุนแรงมากหรือมีความระมัดระวังตัวเกินเหตุในสถานการณ์ทางสังคมต่าง ๆ ที่ต้องพบเจอตามปกติในชีวิตประจำวัน โดยความกังวลที่เกิดขึ้นมักเป็นความกลัวการตัดสินจากผู้อื่น หรือกลัวว่าจะเกิดความอับอายและถูกล้อเลียน

  • อาการของโรคกลัวแบบจำเพาะ (Specific Phobias) ผู้ป่วยจะมีความกลัวอย่างรุนแรงต่อสิ่งของหรือสถานการณ์เฉพาะ เช่น กลัวความสูง กลัวการเข้าสังคม และกลัวสัตว์บางชนิด ซึ่งจะกลัวในระดับที่ต้องพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ปกติในชีวิตประจำวัน

สาเหตุของโรควิตกกังวล

สาเหตุของโรควิตกกังวล ไม่ได้มาจากความบกพร่องทางบุคคลิกภาพ หรือการเลี้ยงดูที่ไม่ดี แต่มีสาเหตุคล้ายกับโรคทางจิตชนิดอื่น ๆ จากการวิจัยพบว่าโรคทางจิตใจเหล่านี้เกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน ได้แก่ การทำงานของสมองบางส่วนที่เกิดความเปลี่ยนแปลง และความเครียดที่เกิดจากสภาพแวดล้อม

  • โครงสร้างการทำงานของสมอง โรควิตกกังวลอาจมีสาเหตุมาจากข้อบกพร่องหรือปัญหาที่เกิดขึ้นกับการทำงานของสมองส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์ต่าง ๆ หรือหากมีความเครียดมาก ๆ เป็นเวลานาน อาจทำให้เซลล์ประสาทและสมองส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ นอกจากนั้น ยังพบว่าผู้ที่เป็นโรควิตกกังวลบางชนิด มีการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับอารมณ์และความรู้สึก

  • กรรมพันธุ์ โรควิตกกังวลเกิดได้จากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากพ่อแม่สู่ลูกทำนองเดียวกันกับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของโรคมะเร็งและโรคหัวใจ

  • ปัจจัยที่มาจากสิ่งแวดล้อม เช่น การได้รับบาดเจ็บ หรือประสบกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดโรควิตกกังวล โดยเฉพาะผู้ป่วยเป็นโรควิตกกังวลที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม จะมีปฏิกิริยาที่ไวต่อการถูกกระตุ้นจากปัจจัยดังกล่าว

  • ปัจจัยเฉพาะอื่น ๆ เช่น  

    • ความขี้อายหรือไม่กล้าแสดงอารมณ์ในเด็ก

    • มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ไม่ดี

    • เป็นหม้ายหรือเคยหย่าร้าง

    • ต้องพบกับเหตุการณ์ในชีวิตที่มีความตึงเครียด ทั้งในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่

    • มีประวัติของคนในครอบครัวที่เป็นโรคทางจิตใจ

    • มีระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลในน้ำลายเพิ่มในช่วงบ่ายซึ่งมาจากความเครียด โดยเฉพาะกับผู้ที่เป็นโรคกลัวการเข้าสังคม (Social Anxiety Disorder)

    • โรคอื่น ๆ ที่มีอาการคล้ายคลึงกับอาการของโรควิตกกังวล เช่น ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน หัวใจเต้นผิดปกติ หรือภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งเป็นกรณีที่ต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม

bottom of page